รักษาโรควัณโรคได้ด้วยขี้เหล็ก โรควัณโรค(Tuberculosis)เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าMycobacterium tuberculosis เป็นเชื้อวัณโรคที่สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกายโดย80% เกิดขึ้นที่ปอดและสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆภายในร่างกายได้ เช่น กระดูกสันหลัง ข้อต่อ เยื่อหุ้มปอด ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
รักษาโรควัณโรคได้ด้วยขี้เหล็ก การใช้แก่นของต้นขี้เหล็กมาต้มในน้ำสะอาดดื่ม
ซึ่งเชื้อนี้มักจะลอยอยู่ตามอากาศหรืออยู่ตามสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราได้เป็นระยะเวลานาน เมื่อเราหายใจเอาเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดเป็นโรควัณโรค โดยโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายด้วยการหายใจ การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน หรือเมื่อผู้ป่วยไอเชื้อเหล่านี้ก็สามารถแพร่กระจายไปยังคนรอบข้างได้แล้ว
อาการของผู้ป่วยโรควัณโรค สามารถสังเกตเบื้องต้นได้ คือ มีไข้ไม่ทราบสาเหตุมักจะมีไข้ช่วงบ่ายหรือช่วงเย็น รู้สึกอ่อนเพลียตามร่างกาย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก เป็นต้น หากมีอาการน่าสงสัยควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการสมุนไพรช่วยรักษาอาการของโรควัณโรคได้อีกด้วย โดยสมุนไพรที่ว่านี้ก็คือ ขี้เหล็ก
ขี้เหล็ก ( Siamese senna ) เป็นพืชผักพื้นบ้านที่หาทานได้ง่าย ราคาถูก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร มีรสชาติขมนิดๆ เมื่อจะนำมาประกอบอาหารนิยมนำใบขี้เหล็กมาต้มแล้วบีบน้ำออกก่อนเพื่อลดความขม จากนั้นจึงนำไปประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรควัณโรคได้อีกด้วย โดยการใช้แก่นของต้นขี้เหล็กมาต้มในน้ำสะอาด ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำแล้วนำมาดื่มในขณะที่ยังอุ่น ใช้ดื่มเช้า-เย็น อาการจะค่อยๆดีขึ้นควรทานต่อเนื่องจนหายขาด
นอกจากสรรพคุณที่สามารถรักษาโรควัณโรคได้แล้วในส่วนของแก่นขี้เหล็กยังมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน ปอดอักเสบ ยาระบาย หนองใน มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ ขับเลือด ฯลฯ ใบขี้เหล็กมีสรรพคุณในการรักษาโรคเหน็บชา อาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก ช่วยคลายเครียด บรรเทาอาการฟุ้งซ่าน เจริญอาหาร ฝี ร้อนใน เบาหวาน เป็นยาระบาย บำรุงเลือด ฯลฯ ดอกขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยในการรักษาโรคประสาท ระงับประสาท บำรุงสมองและประสาท บำรุงสายตา ฯลฯ
แม้ขี้เหล็กจะมีสรรพคุณที่ดีมากมายแต่การทาน ผักขี้เหล็ก ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับหรือเสี่ยงการเกิดภาวะตับอักเสบได้ อีกทั้งต้องมี การดูแลสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม รวมถึงการทานอาหารที่มี ประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ การพักผ่อนที่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพควรใช้ควบคู่กันไปเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนปราศจากผลข้างเคียง