โรคกลัวสังคม

          โรคกลัวสังคม (Social Phobia) โรคนี้มีสาเหตุของการเกิดมาจากสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ไม่อยากอยู่กับคนหมู่มาก ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียวโดยที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม เพราะเกิดจากความกลัว โรคกลัวสังคมเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความคิด หรือจิตใจของตัวผู้ป่วยเองที่อาจคิดว่าการเข้าสังคม คือ เรื่องที่น่ากลัว จึงทำให้เกิดความกังวัลเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่ในสังคนนั้นได้ กลัวเพื่อน หรือกลัวสังคมนั้น ๆ จะไม่ยอมรับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวสังคมอาจมีความคิดดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้กลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวสังคม

    โรคกลัวสังคม เป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย

ซึ่งสังคมที่เรารับรู้กันนั้น เริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ การเข้าสังคม คือ สิ่งที่เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงออกมาได้ เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก การเข้าโรงเรียนต้องมีกลุ่มเพื่อน ต้องทำงานร่วมกัน หรือต้องอยู่กับผู้คนจำนวนมาก ในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะอยู่อยู่กับสังคมหมู่มาก เช่น การที่เราต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือต้องออกไปพูดหน้าเสาธง สิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวจะสังคมจะมีความรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ หรือมีอาการเหงื่อออกตามมือ ตามร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

โรคกลัวสังคม เป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิต

            ถึงแม้ว่าโรคกลัวสังคมจะมีอยู่จริง แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเข้าใจในโรคนี้ มีกำลังใจอยู่รอบข้าง ผู้ป่วยก็สามารถที่จะรับมือกับโรคกลัวสังคมได้

  • ความเข้าใจคือเรื่องที่สำคัญที่สุด เมื่อมีความเข้าใจแล้วเราจะจัดการกับความรู้สึก และควบคุมตัวเองได้เป็นอย่างดี ว่าทำไมเราต้องอยู่กับผู้คนหมู่มาก ทำไมเราต้องอยู่กับสังคม และความเข้าใจจะทำให้เรารับมือกับความกลัว ความกังวลเหล่านั้นได้
โรคกลัวสังคม-เกิดมาจากสภาพจิตใจของผู้ป่วย
  • การปรับความคิด และเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความกลัวของเราที่เคยเกิดขึ้น ลองใช้สติ ความสงบให้กับตัวเอง แล้วคิดทบทวนว่าสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่กับคนในสังคม หรือคนหมู่มากไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว หรือน่ากังวลอีกต่อไป เพราะคนอื่นยังสามารถที่จะทำได้ เราก็ต้องทำได้เช่นกัน

สามารถกดติดตามข้อมูล การดูแลสุขภาพ และบทความสุขภาพอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ภาวะซึมเศร้าฤดูหนาว ไม่ต้องเครียดก็เป็นได้ สภาพแวดล้อมมีผลต่อสภาวะทางอารมณ์

Related Posts