โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เพราะทุกคนมีความเปราะบางที่ซ่อนไว้ในส่วนลึกของจิตใจ ที่อาจถูกสะสมมาจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหากับทางบ้าน ปัญหากับคู่รัก ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาทางด้านการเงิน หรือปัญหาในการเรียนเองก็ตาม ซึ่งเรื่องเหล่านี้เมื่อถูกทับถมจนกองพะเนินในจิตใจมากเข้าเรื่อย ๆ จะฝังรากลึกและค่อยกัดกินตัวตนต่าง ๆ ของเราจนกลายพันธ์เป็นโรคซึมเศร้า ในที่สุด

อาจด้วยความเร่งรีบในวิถีชีวิตประจำวัน ความกดดันที่เราต้องเผชิญมากขึ้น หรือแม้แต่สิ่งที่เรามักเปรียบเทียบกับคนอื่นในโซเชียลมีเดีย ส่งผลปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มจะพบได้ในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน วันนี้เราจึงอยากลองชวนเพื่อน ๆ มาลองสังเกตอาการตัวเอง และคนรอบข้างจากสัญญาณเตือนที่ตัวเราเองหรือเขาเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณบอก ให้เราได้ไหวตัวทัน จะได้ป้องกันการสูญเสียได้อย่างทันท่วงที

โรคซึมเศร้า1

โรคซึมเศร้า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างสัญญาณไหนบอกว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า

Negative Thinking

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการคิดลบอยู่แทบตลอดเวลา จนเราสามารถสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงได้ เพราะคำพูดและการกระทำจะสะท้อนความห่อเหี่ยวในจิตใจ มองตัวเองเป็นคนไร้ค่าไม่มีตัวตน มองโลกในแง่ร้าย และรู้สึกว่าตัวเองมีความหมายต่อโลกใบนี้และคนรอบตัวน้อยลงเรื่อย ๆ จนคิดว่ามีเพียงความตายเท่านั้นที่สามารถช่วยให้หลุดพ้นจากความรู้สึกเหล่านี้ลงได้

โรคซึมเศร้า-ร่างกายส่งเสียงเตือน2

ร่างกายส่งเสียงเตือน

อาการเจ็บป่วยที่ร่างกายส่งเสียงเตือนให้เราสามารถสังเกตได้ง่ายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือ อาการปวดศีรษะ และเป็นอาการปวดที่ไม่ธรรมดา เป็นความรู้สึกที่ปวดราวกับมีมือยักษ์มาบีบกะโหลกอยู่ตลอดเวลา จนพาลไม่อยากทำอะไรต่อ ส่งผลให้การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลงเรื่อย ๆ เนื่องจากรู้สึกเหนื่อยล้าเกินกว่าจะคุยกับใครแบบปกติได้

โรคซึมเศร้า-อารมณ์แปรปรวน

อารมณ์แปรปรวน

โรคซึมเศร้าส่งผลให้อารมณ์ไม่คงที่ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล กระวนกระวายใจ ฉุนเฉียว หรือโกรธง่าย พร้อมระเบิดกับคนรอบข้างได้ตลอดเวลา แต่หากอยู่คนเดียวอารมณ์อาจดาวน์ลง จิตตก รู้สึกเคว้งคว้าง เหมือนอยู่คนเดียวบนโลกสีดำมืดและหนาวเหน็บหรือน้ำตาไหลออกมาเองแบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

โรคซึมเศร้า-กลัวการเปลี่ยนแปลง

กลัวการเปลี่ยนแปลง

แม้ไม่ใช่สัญญาณเตือนโดยตรงแต่การเปลี่ยนแปลงกระทันหันมีแนวโน้มทำให้เราสามารถเป็นโรคซึมเศร้าระยะเริ่มต้นได้ เช่น การเปลี่ยนที่ทำงาน ซึ่งต้องเผชิญกับสังคมใหม่แบบฉับพลัน ในคนที่ปรับตัวไม่ได้ อาจเกิดเป็นภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้รู้สึกไม่ยินดีต่อสิ่งแวดล้อม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงาน

โรคซึมเศร้า-หน่ายใจกับสิ่งที่เป็น

หน่ายใจกับสิ่งที่เป็น

ด้วยฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวดศีรษะ ทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามักเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เป็น ไม่เอ็นจอยกับสิ่งที่ชอบหรือสนใจอีกต่อไป สิ่งเดียวที่ต้องการคือการนอนเฉย ๆ อยู่ในห้องเงียบ ๆ บนเตียงของตัวเองเท่านั้น

สามารถกดติดตาม การดูแลสุขภาพ และบทความในการดูแลตัวเองเรื่อง กฎหมายที่หยุดยั้ง การรักษาอาการซึมเศร้า ของเด็กต่ำกว่า 18 ที่ยังไม่มีจิตแพทย์ให้คำปรึกษาในโรงเรียน

Related Posts